วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแบบ active ได้แก่ การให้วัคซีน ซึ่งวัคซีนที่ใช้ในประเทศไทยอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ท็อกซอยด์ (toxoid) ใช้ป้องกันโรคทีเกิดขึ้นเป็นผลจากพิษหรือท็อกซินของแบคทีเรีย ไม่ได้เกิดจากตัวแบคทีเรียโดยตรง เช่น โรคคอตีบหรือโรคบาดทะยัก ทำได้โดยทำให้พิษของแบคทีเรียหมอไป แต่ความสามารถให้การกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันยังมีอยู่ เช่น วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก โดยทั่วไปเมื่อฉีดพวกนี้เข้าไปจะไม่มีไข้หรือปฏิกิริยาเฉพาะที่ นอกจากเคยฉีดมาแล้วหลายครั้ง หรือร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงอยู่ก่อนแล้ว ในกรณีเช่นนี้อาจเกิดปฏิกิริยาอิมมูน บริเวณที่ฉีด ทำให้มีอาการบวม แดง เจ็บบริเวณที่ฉีดและมีไข้ได้ กลุ่มที่ 2 วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated หรือ killed vaccine) แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่ม คือ ทำจากแบคทีเรียหรือไวรัสทั้งตัวที่ทำให้ตายแล้ว(whole cell vaccine) พวกที่ทำจากเชื้อแบคทีเรียมักเกิดจากปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด บางครั้งอาจมีไข้ด้วย อาการมักจะเริ่มเกิดหนังฉีด 3-4 ชั่วโมง และจะมีอยู่ประมาณ 1 วัน บางครั้งอาจมีปฏิกิริยาอยู่นานถึง 3 วัน ตัวอย่างของวัคซีนในกลุ่มนี้ได้แก่วัคซีนป้องกันโรคไอกรน กลุ่มที่ 3 วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live attenuated vaccine) เป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อเป็นที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลงแล้ว ส่วนใหญ่เป็นวัคซีนสำหรับไวรัส ส่วนวัคซีนสำหรับแบคทีเรียที่ใช้แพร่หลาย ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค (บีซีจี) วัคซีนป้องก้นโรคไข้ทัยฟอยด์ชนิดกิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น