วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ควา่มผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นระบบของร่างกายที่ตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกาย หรือเกิดขึ้นในร่างกาย เพื่อให้พ้นจากอันตราย หรือโทษที่เกิดขึ้นจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ถ้ามีน้อยไปหรือมากไปก็จะมีผลเสีย คือ ก่อให้เกิดโรคต่างๆได้ ภาวะพร่องภูมิคุ้มกัน (Immune deficiency disorders)

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแบบ active ได้แก่ การให้วัคซีน ซึ่งวัคซีนที่ใช้ในประเทศไทยอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ท็อกซอยด์ (toxoid) ใช้ป้องกันโรคทีเกิดขึ้นเป็นผลจากพิษหรือท็อกซินของแบคทีเรีย ไม่ได้เกิดจากตัวแบคทีเรียโดยตรง เช่น โรคคอตีบหรือโรคบาดทะยัก ทำได้โดยทำให้พิษของแบคทีเรียหมอไป แต่ความสามารถให้การกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันยังมีอยู่ เช่น วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก โดยทั่วไปเมื่อฉีดพวกนี้เข้าไปจะไม่มีไข้หรือปฏิกิริยาเฉพาะที่ นอกจากเคยฉีดมาแล้วหลายครั้ง หรือร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงอยู่ก่อนแล้ว ในกรณีเช่นนี้อาจเกิดปฏิกิริยาอิมมูน บริเวณที่ฉีด ทำให้มีอาการบวม แดง เจ็บบริเวณที่ฉีดและมีไข้ได้ กลุ่มที่ 2 วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated หรือ killed vaccine) แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่ม คือ ทำจากแบคทีเรียหรือไวรัสทั้งตัวที่ทำให้ตายแล้ว(whole cell vaccine) พวกที่ทำจากเชื้อแบคทีเรียมักเกิดจากปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด บางครั้งอาจมีไข้ด้วย อาการมักจะเริ่มเกิดหนังฉีด 3-4 ชั่วโมง และจะมีอยู่ประมาณ 1 วัน บางครั้งอาจมีปฏิกิริยาอยู่นานถึง 3 วัน ตัวอย่างของวัคซีนในกลุ่มนี้ได้แก่วัคซีนป้องกันโรคไอกรน กลุ่มที่ 3 วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live attenuated vaccine) เป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อเป็นที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลงแล้ว ส่วนใหญ่เป็นวัคซีนสำหรับไวรัส ส่วนวัคซีนสำหรับแบคทีเรียที่ใช้แพร่หลาย ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค (บีซีจี) วัคซีนป้องก้นโรคไข้ทัยฟอยด์ชนิดกิน

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน หรือ Immune system คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่อาจเข้ามาทำอันตรายร่างกายเราได้ เช่น เชื้อโรคชนิดต่างๆ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายยังไม่รู้จัก เรียกว่า antigen

แนวป้ิองกันโดยทั่วไป

โดยปกติแล้วร่างกายของคนเรา มีกลไกในการป้องกันและกำจัดเชื้อโรคอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเปรียบเสมือนกับกำแพงเมือง ด่าน หรือป้อมปราการที่สร้างไว้สำหรับเป็นเครื่องกีดขว้าง สกัดกั้นหรือดักจับทำลายเชื้อโรค เพื่อไม่ให้เข้าไปทำอันตรายเซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญๆ ภายในร่างกายจนเกิดเป็นโรคร้ายแรงได้ ด่านหรืออวัยวะที่ช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อโรคโดยอัตโนมัตินั้นมีอยู่ทั้งหมด 3 ด่านด้วยกัน

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้[1]

การป้องกันและกำจัดเชื้อโรคของร่างกาย

โดยปกติแล้วร่างกายของคนเรา มีกลไกในการป้องกันและกำจัดเชื้อโรคอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเปรียบเสมือนกับกำแพงเมือง ด่าน หรือป้อมปราการที่สร้างไว้สำหรับเป็นเครื่องกีดขว้าง สกัดกั้นหรือดักจับทำลายเชื้อโรค เพื่อไม่ให้เข้าไปทำอันตรายเซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญๆ ภายในร่างกายจนเกิดเป็นโรคร้ายแรงได้ ด่านหรืออวัยวะที่ช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อโรคโดยอัตโนมัตินั้นมีอยู่ทั้งหมด 3 ด่านด้วยกัน

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกาย

การรักษาอุณหภูมิในร่างกาย สัตว์ทุกชนิดจะมีกลไกในการพยายามควบคุมให้ร่างกายมีอุณหภูมิระดับหนึ่ง โดยสร้างความร้อนแก่ร่างกาย และในขณะเดียวกันก็ต้องสูญเสียความร้อนบางส่วนออกจากร่างกาย ปริมาณความร้อนที่สร้างขึ้นและสูญเสียไปจะต้องสมดุลกัน สิ่งมีชีวิตจึงจะดำรงชีวิตอย่างปกติได้ เพิ่มเติม

การรักษาดุลยภาพของ กรด-เบส ในร่างกายคน

การรักษาสมดุลของกรด- เบสในมนุษย์ การควบคุมกรด เบส ในร่างกายทั่วไปนั้นหมายถึง การควบคุมความเข้มข้นของ ไฮโดรเจนอิออนของน้ำในร่างกายหรือเลือดให้มีค่าคงที่ เพื่อให้เหมาะกับการทำงานของเอนไซม์และปฏิกิริยาต่างๆในร่างกาย เพิ่มเติม

การรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในร่างกายคน

การรักษาดุลยภาพน้ำและแร่ธาตุในมนุษย์ ในร่างกายของมนุษย์จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณ 3 ใน 4 หรือประมาณ 75% ของน้ำหนักตัวโดยน้ำที่อยู่ในร่างกายสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ น้ำที่ประกอบอยู่ภายในเซลล์ประมาณ 60% น้ำที่อยู่นอกเซลล์ประมาณ 30% น้ำที่อยู่ในเนื้อเยื่อและน้ำเลือดอีก เพิ่มเติม

การรักษาดุลยภาพของน้ำและแรธาตุในสัตว์ต่างๆ

โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากมายมหาศาลมาอยู่ร่วมกันเป็นระบบเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ก็ต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมต่อเซลล์ด้วย เพิ่มเติม

การรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

การรักษาดุลยภาพน้ำและแร่ธาตุของสิ่งมีชีวิต โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากมายมหาศาลมาอยู่ร่วมกันเป็นระบบเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ก็ต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมต่อเซลล์ด้วย เพิ่มเติม

การักษาดุลภาพของน้ำในพืช

กลไกสำคัญในการรักษาดุลยภาพของน้ำในพืช คือ ควบคุมสมดุลระหว่างการคายน้ำผ่านปากใบและการดูดน้ำที่ราก ถ้าคายน้ำมากก็ต้องดูดน้ำเข้าทางรากมากเช่นกัน ส่วนมากจะคายน้ำที่ปากใบ เพิ่มเติม

กลไกการรักษาดุลยภาพ

การควบคุมสภาวะกรด-ด่าง หลักๆในร่างกาย มีกลไกลทางสรีรวิทยาอยู่ 3 แบบคือ --ทางเคมี --ทางการหายใจ และทางไต เพิ่มเติม

การลำเลียงสารขนาดใหญ่

การลำเลียงสารขนาดใหญ่ สำหรับสารโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน หรือคาร์ไบไฮเดรตที่จำเป็นต้องลำเลียงเข้าหรือออกจากเซลล์แต่ไม่สามารถผ่านโปรตีนตัวพาได้เนื่องจากโมเลกุลมีขนาดใหญ่เกิน สารนั้นจะถูกโอบล้อมด้วยเยื่อหุ้มเซลล์แล้วลำเลียงออกจาก เซลล์ด้วยกระบวนการเอกโซไซโทซิส (exocytose)หรือลำเลียงเข้าสู่เซลล์ด้วยกระบนวการเอกโดไซโทซิส(endocytosis) เพิ่มเติม

การลำเลียงสารโดยใช้พลังงาน

การลำเลียงแบบใช้พลังงาน หรือ แอคตีฟทรานสปอร์ต หรือ การขนส่งแบบกัมมันต์ (อังกฤษ: active tranport) เป็นการเคลื่อนสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นสูง เพิ่มเติม

การแพร่แบบฟาซิลิเทต

การแพร่สารแบบฟาซิลิเทต (อังกฤษ: Facilitated Diffusion) คือการลำเลียงสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปจนถึงบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ แต่ต้องอาศัยตัวพาเป็นตัวกลาง (Carrier) ในการแพร่ เพิ่มเติม

การออสโมซิส

การออสโมซิส (อังกฤษ: Osmosis) เป็นกระบวนการแพร่โมเลกุลของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน.[1] จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำมาก (สารละลายความเข้มข้นต่ำ) ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำน้อย (สารละลายความเข้มข้นสูง) กระจายจนกว่าโมเลกุลของน้ำจะเท่ากัน เพิ่มเติม

การแพร่

การแพร่ เป็นการกระจายตัวของโมเลกุลของสสารจากจุดที่มีความเข้มข้นสูงกว่า ไปยังจุดที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าด้วยการเคลื่อนที่เชิงสุ่มของโมเลกุล เพิ่มเติม

การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องมีการรับสารจากภายนอก เช่น แร่งธาตุ น้ำ และอาหาร เข้าสู่เซลล์ เป็นต้น ในขณะเดียวกันเซลล์ก็จะกำจัดสารส่วนเกินหรือของเสียออกสู้ภายนอกด้วย เพิ่มเติม

เซลล์และองค์ประกอบสำคัญของเซลล์

เซลล์เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ จึงต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการมองเห็น คือ กล้องจุลทรรศน์ การศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเติม